ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - cashew nut tree - Cashew nut [1]
- cashew nut tree - Cashew nut [1]
Anacardium occidentale L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Anacardiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Anacardium occidentale L.
 
  ชื่อไทย มะม่วงหิมพานต์
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะโม่งก้าย(เมี่ยน) - ม่วงชูหน่วย, มะม่วงกาสอ, มะม่วงกุลา, มะม่วงลังกา, มะม่วงสิงหล (ภาคเหนือ), มะม่วงหิมพานต์ (ภาคกลาง), มะม่วงกุลา, ยาหยี, ยาโงย, ยาร่วง(ภาคใต้) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง ประมาณ 10 เมตร
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็น รูปไข่ปลายใบมนทู่ ส่วนโคนใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว เนื้อใบหนา มีกลิ่นหอม ลักษณะของใบคล้ายกับใบลั่นทม
ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจาย ช่อหนึ่งยาวประมาณ 5-8 นิ้ว ลักษณะของดอก เป็นดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1ซม. ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ตรงกลางดอกก็จะมีเกสรตัวผู้อยู่ 8-10 อัน
ผล ผลมีลักษณะคล้ายกับผลชมพู่ ฉ่ำน้ำ ขนาดผลยาวประมาณ 2.5-3นิ้ว เนื้อผลนิ่ม มีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเหลืองอมชมพู แต่เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีแดงสด ส่วนปลายสุดของผลมีเมล็ด อยู่1เมล็ด เป็นรูปไต เปลือกนอกแข็ง ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว มีสีน้ำตาลอมเทา [1]
 
  ใบ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็น รูปไข่ปลายใบมนทู่ ส่วนโคนใบแหลม ขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-4 นิ้ว ยาวประมาณ 3-8 นิ้ว เนื้อใบหนา มีกลิ่นหอม ลักษณะของใบคล้ายกับใบลั่นทม
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจาย ช่อหนึ่งยาวประมาณ 5-8 นิ้ว ลักษณะของดอก เป็นดอกสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพู ดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1ซม. ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ตรงกลางดอกก็จะมีเกสรตัวผู้อยู่ 8-10 อัน
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะคล้ายกับผลชมพู่ ฉ่ำน้ำ ขนาดผลยาวประมาณ 2.5-3นิ้ว เนื้อผลนิ่ม มีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเหลืองอมชมพู แต่เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีแดงสด ส่วนปลายสุดของผลมีเมล็ด อยู่1เมล็ด เป็นรูปไต เปลือกนอกแข็ง ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว มีสีน้ำตาลอมเทา
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เมล็ด กระเทาะเปลือกแล้วเอาเนื้อในเมล็ดคั่วกินได้, ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน)
- ใบ ใช้ใบสด นำมาบดให้ละเอียดแล้ว ใช้พอกแก้โรคผิวหนัง แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือใช้ใบสดนำมาเผาไฟเอาควันสูดดม รักษาโรคเกี่ยวกับอาการไอ และเจ็บคอ เป็นต้น
ยางจากลำต้น ใช้ยางสด นำมาทาบ้านกันปลวก และใช้ทำเป็นกาวเย็บเข้าเล่มหนังสือ เป็นต้น ยางจากผล ใช้ยางสด นำมาทาทำลายเนื้อด้าน กัดหูด ตาปลา เนื้องอก กลากเกลื้อน และโรคเท้าช้าง เป็นต้น
ผล ใช้เป็นยาแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องร่วง หรือใช้น้ำที่คั้นจากผลกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาเจียน หรือแผลพอกในปากเป็นต้น เมล็ด ใช้กินเมล็ดสด หรือใช้คั่วโรยเกลือกินเป็นยาแก้อาการบวมน้ำ ขับปัสสาวะ หรือใช้สกัดเอาน้ำมันออกมาใช้ทาแก้กลากเกลื้อน แก้เนื้องอก แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อนเป็นต้น [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง